-ขอบเขตการดำเนิงาน ปี2561-
-ขอบเขตการดำเนินงาน ปี 2561-
ขอบเขตในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ครอบคลุมตามประเด็นต่อไปนี้
เนื้อหาการประเมิน
ดำเนินการประเมินหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้กรอบและเครื่องมือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความโปร่งใส ดัชนีความพร้อมรับผิด ดัชนีความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน ดัชนีวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร และดัชนีคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน
วิธีการประเมิน การประเมิน ITA ใช้วิธีวิจัยที่สำคัญ 2 วิธี คือ
การวิจัยจากเอกสาร (Document Research) โดยจัดเก็บข้อมูลเอกสาร หรือหลักฐานต่างๆ ที่แสดงถึงวิธีปฏิบัติงาน กระบวนการหรือกิจกรรมที่หน่วยงานดำเนินการ ซึ่งสะท้อนคุณลักษณะที่ดีตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใส
การวิจัยจากแบบสำรวจกลุ่มตัวอย่าง (Sample Survey Research) โดยจัดเก็บข้อมูลเจากลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสำรวจที่สะท้อนความคิดเห็นหรือการรับรู้ของผู้ตอบแบบสำรวจต่อการปฏิบัติงานกระบวนการและพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ซึ่งสะท้อนคุณลักษณะที่ดีตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใส
เครื่องมือในการประเมิน
คณะที่ปรึกษาจะดำเนินการสำรวจตามระบบการประเมิน ITA ด้วยแบบสำรวจ 3 แบบ ตามแบบที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด คือ
แบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงาน กระบวนการหรือกิจกรรมของหน่วยงาน ดดยจะต้องแนบเอกสาร/หลักฐานประกอบการตอบ
แบบสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal) เป็นการประเมินจากข้อคิดเห็นหรือการรับรู้ของผู้ตอบแบบสำรวจ
แบบสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External) เ เป็นการประเมินจากข้อคิดเห็นหรือการรับรู้ของผู้ตอบแบบสำรวจ
ประชาการเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างในการประเมิน
แบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ประชากรเป้าหมาย คือ หน่วยงานที่เข้ารับการประเมิน โดยจัดเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด
แบบสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal) ประชากรเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เข้ารับการประเมินซึ่งปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 และมีอายุการทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยที่ปรึกษาจะประสานงานหน่วยงานที่เข้ารับการประเมินให้จัดส่งฐานข้อมูลรายชื่อเจ้าหน้าที่ทั้งหมดหรือเท่าที่มีจำนวนมากที่สุด เพื่อวิเคราะห์และกำหนดกลุ่มตัวอย่างและขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน โดยจะต้องครอบคลุมตามโครงสร้าง ระดับตำแหน่ง และพื้นที่/สาขาของหน่วยงาน รวมถึงมีลักษณะของความเป็นตัวแทนที่ดีตามหลักวิชาการ
แบบสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External) ประชากรเป้าหมาย คือ ผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามภารกิจของหน่วยงาน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 โดยที่ปรึกษาจะต้องศึกษาภรกิจขงแต่ละหน่วยงานที่เข้ารับการประเมิน เพื่อกำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงาน และประสานงานหน่วยงานที่รับการประเมินให้จัดส่งฐานข้อมูลรายชื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามที่กำหนด เพื่อวิเคราะห์และกำหนดกลุ่มตัวอย่างและขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน โดยจะต้องครอบคลุมตามโครงสร้าง ระดับตำแหน่ง และพื้นที่/สาขาของหน่วยงาน รวมถึงมีลักษณะของความเป็นตัวแทนที่ดีตามหลักวิชาการ
วิธีการเก็บข้อมูลในการประเมิน
แบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) เก็บข้อมูลโยให้หน่วยงานที่เข้ารับการประเมินตอบคำถามพร้อมแนบเอกสาร/หลักฐานประกอบการตอบและจัดส่งให้แก่สำนักงาน ป.ป.ท.
แบบสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal) เก็บข้อมูลดดยการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า ทางไปรษณีย์ ทางโทรศัพท์ ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทางแบบสอบถามออนไลน์ หรือวิธีการซึ่งมีปรึกษาเห็นว่ามความเหมาะสมในการวิจัย
แบบสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า ทางไปรษณีย์ ทางโทรศัพท์ ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทางแบบสอบถามออนไลน์ หรือวิธีการซึ่งที่ปรึกษาเห็นว่ามีความเหมาะสมในการวิจัย
*********************************************************